หมายถึง ตัวอักษรหรือตัวหนังสือที่ใช้สำหรับแทนเสียงแปร รูปพยัญชนะไทยมี 44 ตัว แต่ละตัวมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ ดังนี้
เสียงพยัญชนะ
พยัญชนะไทยทั้ง 44 ตัว มีเสียงพยัญชนะ 21 เสียง ดังนี้
ลำดับ
|
เสียงพยัญชนะ
|
รูปพยัญชนะ
|
1
|
/ ก /
|
ก
|
2
|
/ ค /
|
ข ฅ ค ฅ ฆ
|
3
|
/ ง /
|
ง
|
4
|
/ จ /
|
จ
|
5
|
/ ช /
|
ฉ ช ฌ
|
6
|
/ ซ /
|
ซ ศ ษ ส
|
7
|
/ ย /
|
ญ ย
|
8
|
/ ด /
|
ฎ ด ฑ
(บางคำ)
|
9
|
/ ต /
|
ฏ ต
|
10
|
/ ท /
|
ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ
|
11
|
/ น /
|
ณ น
|
12
|
/ บ /
|
บ
|
13
|
/ ป /
|
ป
|
14
|
/ พ /
|
ผ พ ภ
|
15
|
/ ฟ /
|
ฝ ฟ
|
16
|
/ ม /
|
ม
|
17
|
/ ร /
|
ร
|
18
|
/ ล /
|
ล ฬ
|
19
|
/ ว /
|
ว
|
20
|
/ ฮ /
|
ห ฮ
|
21
|
/ อ /
|
อ
|
การใช้พยัญชนะ
พยัญชนะมีหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น เช่น น้อง สวย มาก จมูก ตลาด ปรอท และพยัญชนะท้าย เช่น บ้าน หลัง เล็ก
พยัญชนะต้น เสียงพยัญชนะต้นในคำ ๆ หนึ่ง อาจมีเสียงเดียว หรืออาจมีสองเสียงก็ได้ จึงแบ่งพยัญชนะต้นออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พยัญชนะเดี่ยว และพยัญชนะคู่ ซึ่งพยัญชนะคู่แบ่งออกเป็น อักษรควบ และอักษรนำ
พยัญชนะท้าย เป็นพยัญชนะที่อยู่ท้ายพยางค์ ได้แก่ ตัวสะกด และตัวการันต์
พยัญชนะท้าย เป็นพยัญชนะที่อยู่ท้ายพยางค์ ได้แก่ ตัวสะกด และตัวการันต์
นอกจากนี้ พยัญชนะยังทำหน้าที่เป็นอักษรย่อ เช่น กม. พ.ศ. ด.ญ.
ตัวสะกด
พยัญชนะท้ายคำ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัวสะกด คำในภาษาไทยมีตัวสะกดเพียงเสียงเดียว ถึงแม้คำจะมีพยัญชนะท้ายเรียงกันหลายตัวก็ตาม เช่น จักร ลักษมณ์ ก็กำหนดเสียงเดียวเป็นตัวสะกด นอกนั้นไม่ออกเสียง ตัวสะกดของภาษาไทยมีอยู่ 8 เสียง หรือเรียกว่า มาตราตัวสะกด ได้แก่
พยัญชนะท้ายคำ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัวสะกด คำในภาษาไทยมีตัวสะกดเพียงเสียงเดียว ถึงแม้คำจะมีพยัญชนะท้ายเรียงกันหลายตัวก็ตาม เช่น จักร ลักษมณ์ ก็กำหนดเสียงเดียวเป็นตัวสะกด นอกนั้นไม่ออกเสียง ตัวสะกดของภาษาไทยมีอยู่ 8 เสียง หรือเรียกว่า มาตราตัวสะกด ได้แก่
- แม่กง มีเสียง ง เป็นตัวสะกด เช่น รัง ดวง บาง
- แม่กน มีเสียง น เป็นตัวสะกด เช่น รวน ลาน คน
- แม่กม มีเสียง ม เป็นตัวสะกด เช่น ผม ชาม เจิม
- แม่เกย มีเสียง ย เป็นตัวสะกด เช่น เฉย วาย สวย
- แม่เกอว มีเสียง ว เป็นตัวสะกด เช่น ยาว หนาว ข้าว
- แม่กก มีเสียง ก เป็นตัวสะกด เช่น รัก มาก โลก
- แม่กด มีเสียง ด เป็นตัวสะกด เช่น ลด มด ทวด
- แม่กบ มีเสียง บ เป็นตัวสะกด เช่น จับ สาบ ชอบ
ตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา
- เมื่อมี ติ ตุ ต ท ธ ศ ษ ส จ ช ซ ฐ ฎ ฏ ฑ ฒ ฒิ ถ เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี ด สะกด เช่น
ชาติ อ่านว่า ชาด ธาตุ อ่านว่า ทาด จิต อ่านว่า จิด บาท อ่านว่า บาด พุธ อ่านว่า พุด เพศ อ่านว่า เพด ชาติ อ่านว่า ชาด ธาตุ อ่านว่า ทาด พิษ อ่านว่า พิด ทาส อ่านว่า ทาด อาจ อ่านว่า อาด พืช อ่านว่า พืด ก๊าซ อ่านว่า ก๊าด รัฐ อ่านว่า รัด กฎ อ่านว่า กด ปรากฏ อ่านว่า ปรา - กด ครุฑ อ่านว่า ครุด พุฒ อ่านว่า พุด วุฒิ อ่านว่า วุด รถ อ่านว่า รด
- เมื่อมี ญ ณ ร ล เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี น สะกด เช่น
บุญ อ่านว่า บุน | คุณ อ่านว่า คุน |
การ อ่านว่า กาน | ศาล อ่านว่า สาน |
- เมื่อมี ป พ ฟ ภ เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี บ สะกด เช่น
ธูป อ่านว่า ทูบ | ภาพ อ่านว่า พาบ |
เสิร์ฟ อ่านว่า เสิบ | โลภ อ่านว่า โลบ |
- เมื่อมี ข ค ฆ เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี ก สะกด เช่น
สุข อ่านว่า สุก ภาค อ่านว่า พาก เมฆ อ่านว่า เมก
------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น